เกร็ดความรู้ระบบเครือข่าย IEEE คืออะไร

เกร็ดความรู้ระบบเครือข่าย IEEE คืออะไร

หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินหรือเห็นคำนี้บ่อยๆ จากการอ่านรายละเอียดเราเตอร์หรืออุปกรณ์ประเภทเครือข่าย และทุกๆ คนอาจสงสัยว่า IEEE ที่อยู่บนนั้นมันคืออะไรและบอกอะไรกับเราบ้าง ดังนั้นในบทความนี้เราจะพาทุกๆ ท่านไปรู้จัก IEEE ว่ามีอะไรบ้างและแต่ละตัวบอกอะไรกับเรา

IEEE คืออะไร

IEEE เป็นตัวย่อมาจาก Institute of Electrical and Electronics Engineers หรือก็คือสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์นานาชาติ ซึ่งองค์กรนี้ทำหน้าที่กำกับ ดูแล มาตรฐานงานวิจัยระบบโทรคมนาคม คอมพิวเตอร์ ตลอดรวมไปถึงการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับวิศกรรมไฟฟ้าต่างๆ พวกเขาได้กำหนดมาตรฐานสำหรับระบบเครือข่ายขึ้นมา ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก

ในบทความนี้เราจะเน้นเนื้อหาในส่วนของมาตรฐาน IEEE 802.11 หรือ มาตรฐานเครือข่ายแบบไร้สายที่เราคุ้นเคยและใช้กันนั้นเอง ซึ่งมาตรฐานนี้สามารถแบ่งหัวข้อย่อยออกมาได้ ดังต่อไปนี้

 มาตรฐาน IEEE 802.11

มาตรฐาน IEEE 802.11a

มาตราฐานนี้เครือข่ายทำงานในย่านความถี่ 5 GHz มีความเร็วในการรับส่งข้อมูล 54 Mbps สามารถทำการแพร่ภาพวิดีโอและข้อมูลที่ต้องการความละเอียดสูงได้ โดยอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสามารถปรับระดับให้ช้าลงได้ เพื่อเพิ่มระยะทางการเชื่อมต่อให้มากขึ้น เช่น 54, 48, 36, 24 และ 11 Mbps เป็นต้น

มาตรฐาน IEEE 802.11b

มาตรฐานนี้เครือข่ายทำงานในย่านความถี่ 2.4 GHz มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 11 Mbps มีระยะทางในการรับส่งข้อมูลครอบคลุมค่อนข้างไกล ทำให้ไม่สิ้นเปลืองอุปกรณ์ Access Point ที่ใช้เป็นจุดรับส่งสัญญาณ ทำให้เป็นที่นิยมมากโดยเฉพาะในประเทศไทย

มาตรฐาน IEEE 802.11e

มาตรฐานนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับแอปพลิเคชั่นที่เกี่ยวกับข้องกับมัลติมีเดียอย่าง VoIP (Voice over IP) รับประกันคุณภาพการใช้งานคลื่นความถี่ตามหลักการ QoS(Quality of Service)

มาตรฐาน IEEE 802.11f

มาตรฐานนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อจัดการกับผู้ใช้งานที่ข้ามเขตการให้บริการ Access Point หนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง เพื่อให้บริการ Roaming สัญญาณระหว่างกัน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Inter Access Point Protocol (IAPP)

มาตรฐาน IEEE 802.11g

มาตราฐานนี้เครือข่ายทำงานในย่านความถี่2.4 GHz สามารถรับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 36 - 54 Mbps ซึ่งเป็นความเร็วที่สูงกว่ามาตรฐาน 802.11b โดยมาตรฐาน 802.11g สามารถปรับระดับความเร็วในการสื่อสารลงเหลือ 2 Mbps ได้ ตามสภาพแวดล้อมของเครือข่ายที่ใช้งาน

มาตรฐาน IEEE 802.11h

มาตรฐานนี้ถูกออกแบบมาใช้สำหรับอุปกรณ์เครือข่ายไร้สายที่ใช้งานย่านความถี่ 5 GHz เพื่อให้มีความสอดคล้องกับข้อกำหนดการใช้ความถี่ของกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปเป็นหลัก ดังนั้น จึงไม่ค่อยมีความเกี่ยวข้องกับการผู้ใช้งานคลื่นความถี่ภายในประเทศไทยมากเท่าใดนัก

มาตรฐาน IEEE 802.11n

มาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานที่สามารถทำงานบนคลื่นความถี่ คือ 2.4 GHz และ 5 GHz ในการรับส่งสัญญาณข้อมูลไร้สาย ซึ่งเราเรียกการส่งสัญญาณแบบนี้ว่า “Dual-Band” ทำความเร็วสูงสุดที่ 150 Mbps และ 300 Mbps สามารถรองรับอุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน IEEE802.11b และ IEEE802.11g ได้

มาตรฐาน IEEE 802.11ac

มาตรฐานนี้พัฒนามาจาก 802.11n เพิ่มศักยภาพในการรับ-ส่ง ข้อมูล ที่มีความรวดเร็วเป็นอย่างมาก ตลอดจนสามารถส่งข้อมูลได้พร้อมกันหลายช่องทางเนื่องจากสัญญาณมีความเสถียร คลื่นความถี่นี้ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่ม Channel Bonding จาก 40 MHz เป็น 80 และ 160 MHz ส่งผลให้รับ-ส่ง ข้อมูลได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ละยังเพิ่ม MIMO ให้รองรับการส่งข้อมูลได้มากถึง 8 Spatial Streams ซึ่งมีความเร็วในการรับ-ส่ง ข้อมูลสูงสุดมากถึง 6.9 Gbps

ตารางเปรียบเทียบความและย่านความถี่มาตรฐาน IEEE 802.11

ในยุคปัจจุบันเครือข่ายไร้สายนับว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นใจภาคธุรกิจ การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรม มาตรฐานดังกล่าวที่บทความนี้ได้นำเสนอ เกิดขึ้นมาเพื่อควบคุมการใช้งานเครือข่ายไร้สายให้เป็นไปอย่างสอดคล้องกับบรรทัดฐานระหว่างประเทศ และเพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้งานทั่วโลก


ชื่อผู้ตอบ:

 

บริษัท พี. ซีซีทีวี เน็ตเวิร์ค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

ผู้ให้บริการออกแบบติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดและระบบรักษาความปลอดภัย

ที่อยู่ : 239/227 หมู่ 5 ถนน ศรีนครินทร์ ตำบล บางเมือง อำเภอ เมือง จังหวัด สมุทรปราการ 10270
เบอร์โทรศัพท์ : 02-759-9504, 093-140-8539, 092-265-0549
E-Mail : sale.pcctv@gmail.com